การจัดการน้ำ

ฐานที่ 4 น้ำชีวภาพอินทรีย์

สถานที่ โรงชีวภาพอินทรีย์

- ความสำคัญของน้ำ

- การจัดน้ำ

- จุรินทรีบำบัดน้ำเสีย

- สารไล่แมลงชีวภาพอินทรีย์ (ฮอร์โมนพืช น้ำส้มควันไม้ สมุนไพรควบคุมแมลง)

- ลงมือปฏิบัติการทำชีวภาพอินทรีย์ นำน้ำชีวภาพอินทรีย์รดลงถุงใส่ดิน

- พระราชกรณียกิจเกี่ยวกับน้ำ

- น้ำในบรรยากาศ

ปุ๋ยน้ำ

- จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

- จุลินทรีย์ EM

- น้ำหมักจุลินทรีย์

คลองไส้ไก่

หลุมขนมครก + คลองใส้ไก่

“...หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ไม่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้...”

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๒๙

ความสำคัญของน้ำ

น้ำเป็นปัจจัยสำคัญของมนุษย์ และสรรพชีวิต ไม่ว่าจะใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค การประกอบอาชีพทั้งการเกษตรอุตสาหกรรมหรือการบริโภคเพื่อดำรงชีวิต เมื่อน้ำเป็นปัจจัยหลักที่ใช้ในการดำรงชีวิตทำให้ความจำเป็นและความต้องการน้ำนั้นมากขึ้นในทุกวัน แต่ความต้องการในการใช้น้ำกลับสวนทางกับปัจจุบันที่เกิดสภาวะขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรง อาจด้วยเพราะวิถีโลกวิถีชีวิตของคนเราเปลี่ยนไป มีการตัดไม้ทำลายป่า ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ไม่มีต้นไม้ไม่มีป่าน้ำหายเกิดความแห้งแล้ง ภาวะโลกร้อนเกิดตามมา หน้าฝนน้ำมากไหลหลากบ่าท่วมทำลายผลผลิต ทรัพย์สินกระทั่งชีวิตเพราะขาดกำแพงธรรมชาติที่เกื้อกูลกันปะทะบรรเทาให้หนักเป็นเบา เมื่อถึงหน้าแล้งในภูมิภาคต่างๆของไทย กลับประสบปัญหาการขากแคลนน้ำ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเห็นความสำคัญของน้ำ ทรงตระหนักด้วยพระปรีชาสามารถ ด้วยพระราชหฤทัยห่วงใยราษฎร จึงทรงตั้งพระราชหฤทัยเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำเป็นลำดับแรกอย่างมากมายพระราชทานพระราชดำรัสเสมอว่า“น้ำคือชีวิต” ดังพระราชดำรัส ที่เชิญมาข้างต้น

พระองค์ได้ทรงศึกษาค้นคว้าด้วยพระองค์เองทั้งจากเอกสารและรายงานทางวิชาการที่ เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและการจัดการทรัพยากรน้ำ ทรงศึกษารายละเอียดจากแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศถึงพิกัดที่ตั้งหมู่บ้านในท้องถิ่นชนบทห่างไกล และเสด็จพระราชดำเนินไปทรงตรวจสภาพพื้นที่ภูมิประเทศจริงทรงกำหนดโครงการต่าง ๆ ขึ้นบนแผนที่

  • ร่างกายมีน้ำอยู่ 70 เปอร์เซ็น

  • มมุษย์ต้องกินน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว

  • เกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 การแบ่งที่ดิน ออกเป็น 4 ส่วน กำหนดให้น้ำมี 30 เปอร์เซ็น

ปัญหาน้ำ

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีน้ำมาก จนเราไม่ได้ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำ ขาดการมองภาพของน้ำอย่างเป็นองค์รวม เพื่อที่จะเข้าใจน้ำว่าเราควรเข้าใจมันอย่างไร เมื่อฤดูแล้งขาดน้ำ เมื่อฤดูฝนน้ำก็ท้วม

องค์ความรู้เกี่ยวกับน้ำ

  • ระบบนิเวศแหล่งน้ำ ประกอบด้วย

    • - ผู้ผลิต ได้แก่ พืชต่าง ๆ ซึ่งในแหล่งน้ำมีทั้งที่เป็นพวกแพลงก์ตอน (Plankton) สาหร่ายต่าง ๆ เฟิร์น และพืชดอก

    • - ผู้บริโภค ได้แก่ พวกแพลงก์ตอนสัตว์ แมลงต่าง ๆ และสัตว์พวกกินซากอินทรีย์

    • - ผู้ย่อยสลาย (จุลินทรีย์) มีทั้งพวกแบคทีเรีย เห็ด รา

    • น้ำในดิน หมายถึง ส่วนของน้ำที่พบอยู่ในช่องว่างระหว่างอนุภาคดินหรือเม็ดดิน มีความสำคัญมากต่อการปลูก และการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจากเป็นตัวช่วยในการละลายธาตุอาหารต่างๆ ในดิน และเป็นส่วนสำคัญในการเคลื่อนย้ายอาหารพืชจากรากไปสู่ส่วนต่างๆของพืช

    • น้ำ แบ่งเป็น น้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน น้ำในบรรยากาศ (น้ำฝน ความชื้น)

    • น้ำเสีย เกิดจาก การย่อยสลายซาดพืชและซากสัตว์ และสารอินทรีย์ในแหล่งน้ำโดยจุลินทรีย์ ซึ่งจุลินทรีย์มีการใช้แก๊สออกซิเจนไปช่วยในการย่อยสลาย มีผลทำให้ปริมาณแก๊สออกซิเจนในแหล่งน้ำนั้นลดลง นอกจากนี้อาจเกิดจากกระบวนการชะล้างพังทลายของดินทำให้ตะกอนดินถูกพัดพาลงในแหล่งน้ำ ทำให้แหล่งน้ำนั้นขุ่นข้น สิ่งมีชีวิตต่างๆในแหล่งน้ำไม่สามารถดำรงชีวิตได้ ดังนั้นหากบ้านเรือนปล่อยน้ำปนเปื้อน เชื้อโรค สารเคมี จะทำให้น้ำเน่าเสียอย่างรวดเร็ว

ศาสตร์พระราชาว่าด้วยเรื่องการจัดการน้ำ

  • กังหันน้ำชัยพัฒนา

  • ฝายทดน้ำ

  • การทำฝนเกียม

    • หลุมขนมครก - โคก (เนินดินสร้างที่อยู่อาศัย) หนอง (สระน้ำ) นา (ปลูกพืช) และใช้คลองไส้ไก่กระจายน้ำ

การจัดการน้ำภายในศูนย์ฯ

    1. เปิดน้ำพุ เพิ่มออกซิเจนในน้ำ

    2. จัดทำปุ๋ยน้ำ เพื่อไล่แมลง บำรุงต้นพืช

    3. การบริหารความชื้น