แพว (หอมจันทร์)
ผักแพว ชื่อสามัญ Vietnamese coriander
ผักแพว ชื่อวิทยาศาสตร์ Polygonum odoratum Lour. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Persicaria odorata (Lour.) Soják)
จัดอยู่ในวงศ์ผักไผ่ (POLYGONACEAE
สมุนไพรผักแพว มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า พริกม้า พริกม่า (นครราชสีมา), หอมจันทร์ (อยุธยา), ผักไผ่ (ภาคเหนือ),
ผักแพว (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), จันทน์โฉม, จันทน์แดง, ผักไผ่น้ำ, ผักแพ้ว, ผักแพรว, ผักแจว, พริกบ้า, หอมจันทร์ เป็นต้น
ลักษณะของผัวแพว
ต้นผักแพว จัดเป็นพืชล้มลุก มีลำต้นสูงประมาณ 30-35 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรง มีข้อเป็นระยะ ๆ ตามข้อมักมีรากงอกออกมา หรือลำต้นเป็นแบบทอดเลื้อยไปตามพื้นดินและมีรากงอกออกมาตามส่วนที่สัมผัสกับพื้นดิน เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในที่ชื้นแฉะ เช่น ในบริเวณห้วย หนอง คลอง บึง หรือตามแอ่งน้ำต่าง ๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการใช้ลำต้นปักชำ (เมล็ดงอกยาก นิยมใช้กิ่งปักชำมากกว่า) พรรณไม้ชนิดนี้เป็นพืชล้มลุก พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย เพราะเกิดได้เองตามธรรมชาติ
ใบผักแพว มีใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปหอกหรือรูปหอกแกมรูปไข่ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5.5-8 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลมคล้ายใบไผ่แต่บางกว่า ขอบใบเรียบ ฐานใบเป็นรูปลิ่ม ก้านใบสั้นมีหู ใบลักษณะคล้ายปลอกหุ้มรอบลำต้นอยู่บริเวณเหนือข้อของลำต้น
ดอกผักแพว ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกมีดอกย่อยขนาดเล็กสีขาวนวลหรือชมพูม่วง
ผลผักแพว ผลมีขนาดเล็กมาก
สรรพคุณของผักแพว
ผักแพวอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดที่ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย และช่วยในการชะลอวัย (ใบ)
ช่วยป้องกันและต่อต้านมะเร็ง (ใบ)
ช่วยป้องกันโรคหัวใจ (ใบ)
ใบใช้รับประทานช่วยทำให้เจริญอาหาร (ใบ)
ช่วยบำรุงประสาท (ราก)
รสเผ็ดของผักแพวช่วยทำให้เลือดลมในร่างกายเดินสะดวกมากขึ้น (ใบ)
ช่วยรักษาโรคหวัด (ใบ)
ช่วยขับเหงื่อ (ดอก)
ช่วยรักษาโรคปอด (ดอก)
ช่วยรักษาหอบหืด (ราก)
ช่วยแก้อาการไอ (ราก)
ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันและแก้อาการท้องผูก และช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ เพราะเป็นผักที่มีไฟเบอร์สูงถึง 9.7 กรัม ซึ่งจัดอยู่ในผักที่มีเส้นใยอาหารมากที่สุด 10 อันดับของผักพื้นบ้านไทย (ใบ)
ผักแพวมีรสเผ็ดร้อน จึงช่วยแก้ลม ขับลมในกระเพาะอาหาร แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ (ใบ, ยอดผักแพว) ใช้เป็นยาขับลมขึ้นเบื้องบน
ช่วยให้เรอระบายลมออกมาเวลาท้องขึ้น ท้องเฟ้อ (ใบ, ดอก, ต้นราก
รากผักแพวช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร (ราก)
แก้กระเพาะอาหารพิการหรือกระเพาะอักเสบ (ใบ, ดอก, ต้นราก)
ช่วยแก้ท้องเสีย อุจจาระพิการ (ใบ, ดอก, ต้นราก)
ช่วยแก้อาการเจ็บท้อง (ใบ, ดอก, ต้นราก)
ช่วยแก้อาการท้องรุ้งพุงมาน (ใบ, ดอก, ต้นราก)
ใบผักแพวช่วยรักษาโรคพยาธิตัวจี๊ด แต่ต้องรับประทานติดต่อกัน 5-8 วัน
ลำต้นผักแพวใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ต้น)
ราก ต้น ใบ และดอก นำมาปรุงเป็นยาได้ ใช้รักษาริดสีดวงทวาร (ใบ, ดอก, ต้น, ราก)
ช่วยรักษาโรคตับแข็ง (ใบ)
ช่วยลดอาการอักเสบ (ใบ)
ใบผักแพวใช้แก้ตุ่มคัน ผดผื่นคันจากเชื้อรา เป็นกลากเกลื้อน
ด้วยการใช้ใบหรือทั้งต้นนำมาคั้นหรือตำผสมกับเหล้าขาว แล้วใช้เป็นยาทา (ใบ, ทั้งต้น)
ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย (ราก)
ช่วยรักษาอาการปวดข้อ ปวดกระดูก (ราก)
ช่วยแก้เส้นประสาทพิการ แก้เหน็บชาตามปลายนิ้วมือ ปลายเท้า และอาการมือสั่น (ใบ, ดอก, ต้นราก)
ใช้ปรุงเป็นยาบำรุงเลือดลมของสตรี (ใบ, ดอก, ต้นราก)
การปลูกผักแพว
ผักแพวเป็นผักที่ชอบดินที่มีความชื้นสูง สามารถปลูก และการปักชำลำต้น และการหว่านเมล็ด แต่ที่นิยมจะใช้วิธีปักชำต้น หรือ แยกเหง้าปลูก
การเตรียมดิน และการปลูก
การปลูกในครัวเรือนทั่วไป มักปลูกตามสวนหลังบ้านหรือพื้นที่ว่างที่ค่อนข้างชื้น การเตรียมดินด้วยการพรวนดินออกให้หมด หลังจากนั้น
ค่อยนำลำต้นที่เด็ดได้จากกอหรือขุดเหง้ามาลงปลูก ระยะห่างลำต้น 5-10 ซม. หากเป็นเหง้าจะใช้เหง้า 3-5 ต้น ปลูกลงแปลง ระยะห่างของเหง้าประมาณ 10-15 ซม.
สำหรับการปลูกด้วยการปักชำลำต้น เกษตรกรจะใช้เทคนิคเร่งให้แตกรากก่อน แล้วค่อยนำลงปลูกลงดิน โดยใช้วิธีนำกอผักแพวที่ตั ด จากแปลงมาแช่น้ำ
โดยแช่ในน้ำให้ท่วมลำต้นประมาณ 2-3 ข้อ ซึ่งแช่ไว้ประมาณ 3 วัน ลำต้นจะเริ่มแตกรากสีขาวออกบริเวณข้อ หลังจากนั้น นำปลูกลงดินได้
การดูแลรักษาผักแพว
เพียงแต่ต้องคอยรดน้ำให้ชุ่มเสมอเท่านั้น และอาจใส่ปุ๋ยคอก ที่ใช้จะเน้นเรื่องการบำรุงใบ
การเก็บผักแพว
ผักแพวที่ปลูกใหม่จะเริ่มแตกเหง้าที่เป็นลำต้นใหม่หลังปลูกประมาณ 1 เดือน และสามารถเริ่มเก็บยอดได้ประมาณเดือนที่ 3 ซึ่งการเก็บยอดอาจใช้มีดตัด ประมาณ 15-20 ซม. โดยให้เหลือลำต้นไว้สำหรับแตกเหง้าใหม่
ข้อมูลทั่วไป
อายุ 1 ปี
แสง รำไร
ดิน ร่วน
น้ำ ชุ่มน้ำ 1-2 ครั้ง
ปลูก เมล็ด / แยกเหง้า
สูง 30-35 ซม.
เก็บเกี่ยว 3 เดือน
เอกสารอ้างอิง
หนังสือตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย. สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหารครบวงจร. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก www.foodnetwork.com. [12 ต.ค. 2013].
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (th)
ไทยรัฐออนไลน์. "ผลวิจัยพบผักพื้นบ้านไทยคุณค่าเพียบ". (นพ.สมยศ ดีรัศมี). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thairath.co.th. [12 ต.ค. 2013].
หนังสือผักพื้นบ้านต้านโรค. (พญ.ลลิตา ธีระสิริ).
ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูง จังหวัดลำพูน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.haec05.doae.go.th. [12 ต.ค. 2013].
บ้านมหาดอตคอม. "ผักแพว". piboon. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.baanmaha.com. [12 ต.ค. 2013].
"ผักแพว ผักพื้นบ้านรสแซ่บ ลดอ้วนแต่ไม่ลดสารอาหาร". (จำรัส เซ็นนิล). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.jamrat.net. [12 ต.ค. 2013].
ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. "ผักพื้นบ้านผักแพว". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.m-culture.in.th. [12 ต.ค. 2013].
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ผักไผ่น้ำ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [31 ส.ค. 2015].
เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)