การจัดการดิน

ฐานที่ 3 ดินคุณภาพ

สถานที่ หน้าเรือนเพาะชำ

- ความสำคัญของดิน

- องค์ประกอบของดิน ,

- การจัดการดิน

- ปุ๋ยดิน

- ลงมือปฏิบัติการปรุงดิน แจกถุงใส่ดิน

ส่วนประกอบของดิน - YouTube

"......ดินนั้นพัฒนาขึ้นมาได้โดยไม่ยากนักดินจะเค็มจะเปรี้ยวจะ จืดอะไรก็ตามสามารถที่จะทำให้ดีขึ้นได้ภายในไม่กี่ปีโดยใช้เทคนิค แบบโบราณคือใช้ปุ๋ยหมักหรือใช้ตะกอนที่ลงมาตามลำห้วย มาพัฒนาดินอันนี้เป็นวิธีที่ง่าย...”

ความตอนหนึ่ง ในพระราชดำรัส พระราชทานแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์

ความสำคัญของดิน

ดินคือชีวิต ภูมิแผ่นดินจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระองค์ท่านให้ความสำคัญเรื่องนี้ จนวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี เป็นวัน "ดินโลก"

ดินเป็นรากฐานของชีวิต หากดินไม่ดี พืชอาศัยดินก็ไม่สามารถอยู่ได้ เช่นเดียวกับเศรษฐกิจ เราต้องบำรุงดินให้ดีก่อน ค่อยไปส่งเสริมเกษตรกรรม

ปัญหาของดินในประเทศไทย

ดินในเมืองไทยมีปัญหาเสื่อมโทรมเยอะ จาการทำเกษตรเชิงเดี่ยว การเกษตรการไถ่อย่างผิดวิธี ลักษณะของปัญหาของดินที่พบบ่อยในประเทศไทย ปัญหาดินในบ้านเราอย่างหนักๆ ก็มีหลายอย่าง อย่างเช่นดินเปี้ยว บางที่ก็นเป็นดินทราย ในภาคอีสาน ดินเค็ม

ธาตุหารในดินไม่เท่ากันเพราะวัตถุต้นกำเนิดดินที่ไม่เท่ากัน เป็นผลมาจากความแปรปรวนของสิ่งแวดล้อม ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น กระแสลม และการกระทำขชองมนุษย์ เช่น การปลูกพืชเชิงเดี่ยว การเผ่าทำลายหน้าดิน

วิธีการแก้ปัญหาในเครือย่ายกสิกรรมธรรมชาติ ทำปุ๋ยธรรมชาติ แห้งชาม น้ำชาม แห้ง คือ ปุ๋ยแห้ง

องค์ประกอบฃองดิน

    • อนินทรียวัตถุ หรือ ธาตุอาหาร มี 45 เปอร์เซ็น

    • อินทรียวัตถุ หรือ ซากพืชซากสัตว์ มี 5 เบอร์เซ็น

    • น้ำ มี 25 เปอร์เซ็น

    • อากาศ มี 25 เปอร์เซ็น

ลักษณะของดิน

    1. ดินเหนียว ลักษณะ แข็ง เมื่อแห้งรอยร้าวเยอะ เปียกจะขยายตัวอุ้มน้ำได้ดี แห้งช้า มีสารอาหารเยอะ พืชที่ควรปลูก ไม้ผล ผักต้นเตี้ย

    2. ดินทราย ลักษณะ น้ำซึมผ่านได้ดี หน้าดินถูกกัดเซาะ ไม่ค่อยมีธาตุอาหาร ไม่ค่อยทรุดเพราะไม่ขยายหรือหดตัว พืชที่ควรปลูก ปลูกพืชได้ทุกชนิดเพราะรากชอนไชได้ง่าน (ต้องปรุงดิน)

    3. ดินร่วน (หน้าดิน) ลักษณะ มีซากพืชซากสัตว์ย่อยสลาย มีความชื่นดี พืชที่ควรปลูก ปลูกพืชได้ทุกชนิด อุ้มน้ำได้นานมีปริมาณพอดี รากพืชซอนไชง่าย หมายเหตุ เป็นดินที่เกษตรไม่ค่อยรักษา แต่เราสามารถสร้างได้

    4. ดินหินลูกรัง ลักษณะ มีทราย มีดินเหนียว มีหิน แข็งมาก ต้นไม้โตน้อยมาก เพราะรากไม่สามารถชอนไชได้ พืชที่ควรปลูก ต้องปรุงดิน ขุดหลุมกว้างๆ ให้เป็นสวนผลไม้

    5. ดินร่วนปนทราย ลักษณะ ดินร่วนปนทรายผสมแต่ไม่ค่อยเก็บน้ำ พืชที่ควรปลูก ต้องปรุงดิน ปลูกพืชได้ทุกชนิดเพราะ รากพืชชอนไชได้ง่าย

    6. ดินที่เป็นน้ำคล่ำ ลักษณะ มีน้ำซึมตลอดเวลา มีต้นบอน และหญ้าที่ทนน้ำได้ จุรินทรีย์ไม่ค่อยมี พืชที่ควรปลูก ทำนา ถ้าปลูกผักต้องยกร่องไม่เหมาะปลูกพืชชนิดอื่น เหมาะกับการขุดสระน้ำ

ธาตุอาหารของพืช

    1. ธาตุอาหารมหธาตุ ธาตุอาหารหลัก พืชต้องการ ปริมาณมาก N (ไนโตรเจน) P (ฟอสฟอรัส) K (โพแทสเซียม)

    2. ธาตุอาหารจุลธาตุ ธาตุอาหารเสริม พืชต้องการน้อย Mn (แมงกานีส) Zn (สังกะสี) B (โบรอน)

ธาตุอาหารในดินเสื่อมลงเนื่องจาก

    1. กระบวนการชะล้าง (RUN OFF) เกิดจากการพัดพาของน้ำหน้าดิน

    2. กระบวนการระเหิด (VOLATILIZATION) โดยเฉพาะในโตรเจนที่เปลี่นเป็นก๊าซแอมโมเนีย

    3. กระบวนการระเหย (DENITRIFICATION) เกิดจากน้ำขังจนดินขาดออกซิเจน ไนโตรเจน จะเปลี่ยนเป็นก๊าซลอยไปในอากาศ

    4. กระบวนการสูญเสียชั่วคราว (IMMOBILIZATION) เกิดจากซากพืชที่ยังไม่ย่อยสลาย จุลินทรีรย์ก็นำธาตุอาหารมาใช้

    5. สภาพพื้นที่ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อผลผลิตทางการเกษตร เช่น ดินเป็นกรด

    6. สภาพทางด้านกายภาพ ดินอัดตัวแน่นขาดการโปร่งพรุน รากพืชชอนไชได้ยาก

เทคนิคการปรุงดิน ถูกชนิด ถูกอัตรา ถูกเวลา ถูกที่

ศาสตร์พระราชาแก้ปัญหาดิน

    • แห้งชาม น้ำชาม อย่าปลอกเปลือกแปรยดิน ให้ห่มดิน กิ่งไม้หรือใบไม้ เพราะสามารถย่อยสลายเป็นปุ๋ยธรรมชาติได้ แล้วธรรมชาติจะปรับตัวและฟื้นตัวกลับมาได้

    • หญ้าแฝก การลดการพังทลายชองดิน

    • แกล้งดิน

    • เลี้ยงดิน ให้ดินเลี้ยงพืช

การจัดการดิน

    • การทำปุ๋ยหมักรสจืด กล้วยสับ ๓ กก. + น้ำตาลทรายแดง ๑ กก. + น้ำจุลินทรีย์ ๑ ลิตร + น้ำสะอาด ๑๐ ลิตร หมักไว้อย่างน้อย ๓ เดือน

    • การทำปุ๋ยแห่ง มูลสัตว์ + แกลบ + แกลบเผา + รำข้าว ๑ ต่อ ๑ + น้ำปุ๋ยหมักรสจืด (๑ ต่อ น้ำเปล่า ๕๐ - ๑๐๐ ส่วน) ความชื้นที่พอเหมาะ คือ กำปุ๋ยแล้วมีน้ำออกมา และปุ๋ยเป็นก้อน นำไปใส่ถุงปุ๋ยวางไว้ในร่ม ถ้าร้อนยังใช้ไม่ได้ ถ้าเย็นใช้ได้

    • การห่มดินให้สูงอย่าต่ำกว่า ๑ คืบ กว้างจากจุดศูนย์กลาง ประมาณ ๑ ศอก เว้นตรงกลางเล็กน้อย เพื่อให้อากาศถ่ายเท แล้วใส่ปุ๋ยแห้ง และรดน้ำปุ๋ยรสจืดเพื่อให้เกิดการย่อยสลาย "เลี้ยงดินให้ดินเลี้ยงพืช"

    • พยายามอย่าใช้สารเคมี เพราะจุรินทรีย์จะตาย

    • ไม่เผา จะทำให้จุินทรีย์ตายในชั้นดินลึกมาก