มะเขือยาว

มะเขือยาว ชื่อสามัญ Eggplant

มะเขือยาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum melongena L. จัดอยู่ในวงศ์มะเขือ (SOLANACEAE)

มะเขือยาวจัดเป็นพันธุ์ไม้ล้มลุก เมื่อพูดถึงมะเขือยาวหลาย ๆ คนคงรู้ดีว่าสามารถนำมาใช้ทำเป็นอาหารได้ แต่ก็มีอีกหลาย ๆ คนที่ยังไม่รู้ว่าประโยชน์ของมะเขือยาวคืออะไร ? มันมีด้วยเหรอ ? วันนี้เรามาดูสรรพคุณของมะเขือยาวกันดีกว่าครับว่ามันมีอะไรบ้าง

มะเขือยาวอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับร่างกาย อย่างเช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 วิตามินบี 9 วิตามินซี วิตามินพี ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุแมกนีเซียม ธาตุแมงกานีส ธาตุฟอสฟอรัส ซิงค์ สารไกลโคอัลคาลอยด์ และสารต้านอนุมูลอิสระอย่างเทอร์ปีน เป็นต้น และยังมีเกลือแร่ต่าง ๆ สำหรับมะเขือยาวสีม่วงนั้นจะมีวิตามินพีมากเป็นพิเศษโดยทั่วไปในมะเขือยาวผิวสีม่วงจะมีวิตามินพีในปริมาณที่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดแข็งตัว โรคความดันโลหิตสูง มีอาการอาเจียนเป็นเลือด หรือโรคลักปิดลักเปิด ควรจะรับประทานมะเขือยาวเป็นประจำ เพราะจะทำให้อาการของโรคดังกล่าวทุเลาลงหรือหายได้

มะเขือยาว มีความสามารถในการดูดซับน้ำมัน จึงคาดว่าน่าจะช่วยยับยั้งการดูดซึมของคอเลสเตอรอลผ่านหนังลำไส้ได้ ด้วยความจริงนี้เองหากจะรับประทานด้วยวิธีการทอดก็จะทำให้มะเขือยาวดูดซับน้ำมันเอาไว้ จึงควรใช้วิธีอบแทน

สรรพคุณของมะเขือยาว

  1. มีสารช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ

  2. ช่วยยับยั้งการดูดซึมของคอเลสเตอรอลผ่านหนังลำไส้ได้

  3. มีส่วนช่วยรักษาหลอดเลือดโลหิตและหัวใจให้เป็นปกติ

  4. ช่วยป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูง

  5. แคลเซียมจากมะเขือยาวช่วยบำรุงกระดูกและฟัน

  6. ช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน

  7. มีส่วนช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบประสาทและสมอง พัฒนาด้านความจำ

  8. ใช้เป็นยาแก้ปวด ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาทำเป็นเม็ดยากินแก้อาการปวด

  9. ช่วยขับเสมหะ ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาทำเป็นเม็ดยากิน

  10. ใช้แก้อาการปวดฟัน ฟันผุ ด้วยการใช้ดอกแห้งหรือสดนำมาเผาให้เป็นเถ้าแล้วบดให้ละเอียด นำมาทาบริเวณที่ปวด หรือจะใช้ขั้วผลสดนำมาตำให้ละเอียดนำมาพอกหรือทาบริเวณที่เป็น

  11. ใช้รักษาแผลในช่องปาก ด้วยการใช้ขั้วผลสดนำมาตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกหรือทาบริเวณที่เป็นแผล

  12. ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างเป็นปกติและสะดวก

  13. ใช้รักษาโรคบิดเรื้อรัง ถ่ายออกมาเป็นเลือด ด้วยการใช้ลำต้นและรากแห้งประมาณ 10 กรัม มาต้มเอาน้ำกิน หรือใช้ใบแห้งนำมาตำให้เป็นผง กินประมาณ 6-10 กรัม หรือจะใช้ผลแห้งนำมาทำเป็นเม็ดยากินแก้อาการอุจจาระเป็นเลือด หรือจะใช้ขั้วผลแห้งประมาณ 60 กรัมนำมาต้มหรือนำไปเผาให้เป็นเถ้า บดให้ละเอียดแล้วนำมากินก็ได้เช่นกัน

  14. แก้อาการตกเลือดในลำไส้ ด้วยการใช้ใบแห้งนำมาตำให้เป็นผง กินประมาณ 6-10 กรัม หรือจะใช้ผลแห้งนำมาทำเป็นเม็ดยากินแก้อาการก็ได้ หรือจะใช้ขั้วผลแห้งประมาณ 60 กรัมนำมาต้มหรือนำไปเผาให้เป็นเถ้า บดให้ละเอียดแล้วนำมากินก็ได้เช่นกัน

  15. ช่วยแก้ปัสสาวะขัด ด้วยการใช้ใบแห้งนำมาตำให้เป็นผงกินประมาณ 6-10 กรัม

  16. ช่วยรักษาโรคหนองใน ด้วยการใช้ใบแห้งนำมาตำให้เป็นผงกินประมาณ 6-10 กรัม

  17. ใช้รักษาแผลมีหนอง ด้วยการใช้ดอกแห้งหรือสดนำมาเผาให้เป็นเถ้าแล้วบดให้ละเอียด นำมาทาบริเวณที่ปวด หรือจะใช้ผลสดนำมาตำให้ละเอียดแล้วพอกบริเวณที่เป็นแผล หรือจะใช้ขั้วผลสดนำมาตำให้ละเอียด นำมาพอกหรือทาบริเวณที่เป็นก็ได้เช่นกัน

  18. รักษาแผลเท้าเปื่อยอักเสบ ด้วยการใช้ลำต้นและรากสดนำมาตำจนละเอียด คั้นเอาน้ำแล้วนำมาทาบริเวณที่เป็นแผล

  19. รักษาแผลที่เกิดจากพยาธิปากขอเจาะไชเท้า ด้วยการใช้ใบต้มกับน้ำล้างบริเวณที่เป็นแผล

  20. ใช้รักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง ผดผื่นคันตามผิว ด้วยการใช้ผลสดนำมาตำให้ละเอียดแล้วพอกบริเวณที่เป็น

  21. รักษาผิวหนังเป็นปื้นขาวหรือแดง ด้วยการใช้ขั้วผลที่แห้งแล้วนำมาคลุกผสมกับกำมะถัน จากนั้นก็บดให้ละเอียดแล้วนำมาทาบริเวณที่เป็นปื้น

  22. ช่วยรักษาฝี ด้วยการใช้ขั้วผลสดนำมาตำให้ละเอียด นำมาพอกหรือทาบริเวณที่เป็นฝี หรือถ้าเป็นฝีหลายหัวบริเวณหลังแต่หนองยังไม่แตก ให้นำใบสดมาตำจนละเอียดแล้วผสมกับน้ำส้มสายชูสีดำ นำมาต้มแล้วพอกบริเวณที่เป็นฝี

  23. ใช้ล้างแผลหรือนำมาพอกบริเวณที่เป็นแผลบวมเป็นหนองหรือแผลที่เกิดจากการถูกความเย็น ด้วยการใช้ใบนำมาต้มเอาน้ำแล้วนำมาล้างแผลหรือพอกบริเวณที่เป็นหนอง

  24. รักษาอาการเจ็บหัวนมหรือหัวนมแตกของผู้หญิง ให้ใช้ผลแก่จัดนำมาตากในร่มจนแห้ง แล้วนำไปเผาจนเป็นเถ้าแล้วบดให้ละเอียดผสมกับน้ำ แล้วใช้ทาบริเวณที่เจ็บ

วิธีปลูกมะเขือยาว

มะเขือยาวเป็นพืชที่ปลูกได้ง่ายเป็นพืชข้ามปีปลูกได้ตลอดทั้งปี ทุกสภาพดิน ดั้งนั้นเราจะเห็นการปลูกพืชชนิดนี้ทั่วทุกภาคในประเทศไทย อีกทั้งยังมีอายุค่อนข้างยืนยาว ทำให้เป็นที่นิยมในการปลูก ส่วนในการบริโภคนั้น เรา นำส่วนผลมาบริโภค เป็นผักสด หรือสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายชนิด ซึ่งทางเราได้เรียบเรียง วิธีปลูก มะเขือยาว แบบสั้นๆเข้าใจง่ายไว้ในบทความนี้ เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับคนที่สนใจปลูก

แหล่งปลูกที่เหมาะสม

การเตรียมเมล็ดก่อนเพาะในการเลือกเมล็ดพันธุ์นั้น ควรเลือกเมล็ดพันธุ์จากผู้จำหน่ายที่น่าเชื่อถือ มีคุณภาพ บรรจุอยู่ในภาชนะที่ป้องกันความชื้อและอากาศ มีการระบุข้อมูลต่างๆไว้อย่างชัดเจนเช่น อย่างเช่น มะเขือยาว ท็อปกัน ตราศรแดง เป็นต้น

การเตรียมดิน

เตรียมดินสำหรับเพาะต้นกล้า

  1. ขุดดินลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร

  2. ใส่ปุ๋ยคอก แล้วพรวนดิน ย่อยให้ละเอียด

  3. ยกเป็นแปลงตามใจชอบ

  4. ปรับหน้าดินให้เรียบ

  5. เตรียมดินสำหรับปลูก

  6. ใส่ปุ๋ยคอก แล้วพรวนดิน ย่อยให้ละเอียด

  7. ยกเป็นแปลง สูง 20-30 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1.5 เมตร ความยาวแปลงแล้วแต่พื้นที่

  8. ขุดหลุมปลูกลึก 15-20 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ระหว่างแถว 10 เซนติเมตร

  9. รองกันหลุมด้วยปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตราหลุมละ 1/2 ช้อนชา

  10. การเพาะกล้าหว่านเมล็ดให้กระจายตัวทั่วแปลง แล้วกลบด้วยปุ๋ยคอก กลบหน้าด้วยฟางข้าวบางๆ รดน้ำให้ชุ่ม

  11. การปลูกมะเขือยาวเมื่อกล้ามีอายุประมาณ 25-30 วัน มีใบจริง 2-3 ใบ ให้ย้ายมาลงแปลงปลูก แล้วรดน้ำให้ชุ่ม

การดูแลรักษา

  • การรดน้ำ

  • ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอทุกวัน

  • การใส่ปุ๋ย

  • ใส่ปุ๋ย 15-15-15 หรือ 13-13-21 อัตรา 25-30 กิโลกรัม ต่อไร่ ใส่เมื่อมะเขือยาวมีอายุ 20-25 วัน หลังปลูกโรยข้างต้นมะเขือยาวในขณะดินมีความชื้นหรือให้น้ำตาม

  • การเก็บเกี่ยว

  • อายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 60-80 วัน หลังย้ายกล้าลงปลูก ควรเลือกเก็บผลมะเขือยาวที่มีขนาดพอเหมาะ

ข้อมูล

  • อายุ 6 เดือน

  • แสง เต็มวัน

  • ดิน ร่วน

  • น้ำ ชุ่มน้ำ (1-2 ครั้ง)

  • ปลูก เมล็ด

  • สูง 60-120 ซม.

  • เก็บเกี่ยว 60-80 วัน

แหลงอ้างอิง : สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)