การจัดการพืช Plant
ฐานที่ 5 พืชพืชเอื้ออารีย์
สถานที่ แปลงผักสาธิต
- ความสำคัญของการปลูกพืช 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง
- แปลงผักสาธิตเกษตรอินทรีย์
- ผักผสมผสาน
- การขยายพรรณพืช
- ปลูกผักสวนกระแส (1 ต้น ได้หลายต้น)
- พืชสมุนไพร
- ลงมือปฏิบัติขยายพันธ์ ลงในถุงใส่ดิน
- งานเกษตร
web สมุนไพรน่าสนใจ
สมุนไพร 200 ชนิด
"... การช่วยเหลือสนับสนุนประชาชนในการประกอบอาชีพ และตั้งตัวให้มีความพอกินพอใช้ก่อนอื่น เป็นพื้นฐาน เป็นสิ่งสําคัญอย่างยิ่งยวด เพราะผู้ที่มีอาชีพ และฐานะเพียงพอที่จะพึ่งตนเองย่อมสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าระดับที่สูงขึ้นต่อไปได้แน่นอน..."
พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ ว่า
ความสำคัญของพืช
สังคมไทยในอดีตเป็นสังคมเกษตรกรรม มีความอุดมสมบูรณ์ และมีความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติ ผู้คนเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ มีวิถีการดำรงชีวิต การผลิต ประเพณี วัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่หลากหลาย ซึ่งเกิดการเรียนรู้จากปัญหาในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันของแต่ละท้องถิ่น ผู้ตนดำรงชีวิตอยู่บนฐานของเกษตรกรรมเพื่อยังชีพเป็นหลัก ชุมชนมีความสัมพันธ์แบบเครือญาติ ช่วยเหลือค้ำจุนซึ่งกันและกัน มีระบบเศรษฐกิจพื้นฐานที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันกันด้วยน้ำใจเอื้ออารี สามารถสร้างความพอเพียงให้กับครอบครัว และชุมชนได้ สังคมจึงมีความสงบสุข
พืชเป็นปัจจัย 4 สำหรับมนุษย์โดยทางตรงและทางอ้อม ทำให้มนุษย์มีอาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค
สามารถเกิดรายได้สร้างอาชีพได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม
ต้นไม้ทำให้เกิดความร่มรื่น เพิ่มออกซิเจน ลดคาร์บอนไดออกไซด์
เกิดความสมดุลของระบบนิเวศ
ปัญหาของพืช
ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช
การขาดธาตุอาหารของพืช (ธาตุหลัก / ธาตุรอง / อินทรีย์วัตถุ)
ความชืันในดิน (น้อย / มาก)
แสงสว่าง (รำไร / แดดครึ่งวัน / แดดเต็มวัน)
อากาศ (ในดิน / บนดิน)
อุณหภูมิ (พืชเมืองหนาว / พืชเมืองร้อน)
พันธุกรรม (พืชท้องถิ่น - พืชตัดแต่ง)
ศัตรูพืช
โรคพืช
ศาสตร์พระราชาเกี่ยวกับการปลูกพืช
ประโยชน์ของป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง
- พอกิน คือ การปลูกต้นไม้ที่กินได้ รวมทั้งใช้เป็นยาสมุนไพร ไม้ในกลุ่มนี้ เช่น แค มะรุม ทุเรียน สะตอ ผักหวาน ฝาง แห้ม กล้วย ฟักข้าว ไม้ผลต่าง ๆ
- พอใช้ คือ การปลูกต้นไม้ให้เป็นป่าไม้ สำหรับทำเครื่องใช้สอยในครัวเรือน อาทิ ทำฟืน เผาถ่าน ทำงานหัตถกรรม หรือทำน้ำยาซักล้าง ไม้ในกลุ่มนี้ เช่น มะคำดีควาย หวาย ไผ่ หมีเหม็น
- พออยู่ คือ การปลูกต้นไม้ที่ใช้เนื้อไม้และไม้เชิงเศรษฐกิจให้เป็นป่า ไม้กลุ่มนี้เป็นไม้อายุยืนเพื่อใช้สร้างบ้าน ทำเครื่องเรือน ต้นไม้กลุ่มนี้ เช่น ตะเคียนทอง ยางนา สัก พะยูง พยอม
- พอร่มเย็น คือ ประโยชน์อย่างที่ 4 ที่เกิดจากการปลูกป่า 3 อย่าง จะช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศดินและน้ำให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ ร่มรื่น และฉ่ำเย็นขึ้นมา
การปลูกป่า 5 ระดับแบบกสิกรรมธรรมชาติ ประกอบด้วยต้นไม้หลากหลายชนิดพันธุ์ โดยเราสามารถจัดแบ่งตามระดับช่วงความสูงและระบบนิเวศได้ 5 ระดับ ดังนี้
- ไม้สูง เป็นกลุ่มไม้เรือนยอดสูงสุดและอายุยืน ไม้ในระดับนี้ เช่น ตะเคียน ยางนา เต็ง รัง
- ไม้กลาง เป็นกลุ่มต้นไม้ที่ไม่สูงนัก ไม้ในระดับนี้ ได้แก่ บรรดาไม้ผลที่เก็บกินได้ เช่น มะม่วง ขนุน มังคุด กระท้อน ไผ่ สะตอ
- ไม้เตี้ย เป็นกลุ่มต้นไม้พันธุ์พุ่มเตี้ย ไม้ในระดับนี้ เช่น พริก มะเขือ กะเพรา ติ้ว ผักหวานบ้าน เหลียง
- ไม้เลื้อยเรี่ยดิน ไม้ในระดับนี้เป็นตระกูลไม้ล้มลุกที่ทอดยอดเลื้อยได้ เช่น พริกไทย รางจืด ฟักทอง แตงกวา
- ไม้หัวใต้ดิน ไม้หัวอยู่ใต้ดิน ไม้ในระดับนี้ คือ มัน เผือก กลอย กวาวเครือ ขิง ข่า
เกษตรผสมผสาน ระบบการเกษตรที่มีการเพาะปลูกพืชหรือการเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ ชนิดอยู่ในพื้นที่เดียวกันภายใต้การเกื้อกูล
เกษตรอินทรีย์ เป็นการทำการเกษตรที่ไม่ใช้สารเคมีที่มนุษย์ทำขึ้น แต่ใช้วัสดุธรรมชาติแทน เพื่อลดพิษภัย ที่เกิดจากสารเคมีทั้งในดิน น้ำ อากาศ และผลผลิตซึ่งเกษตรอินทรีย์เป็นระบบการผลิตที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม รักษาสมดุลธรรมชาติ โดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ประโยชน์
การจัดการพืช
กำหนดพืชหลัก พืชรอง
การปลูกผักสนกระแส ปลูกเพื่อสร้างรายได้
การปลูกพืชตามฤดู
- ฤดูร้อน (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม) พืชผักอาจจะไม่สวยงามนัก เนื่องด้วยอากาศที่ร้อนอบอ้าว การปลูกผักในช่วงนี้จึงควรรดน้ำเป็นuມมากๆ และสามารถเลือกชนิดของผักได้ตามที่เหมาะจะรับประทานในฤดูนี้คือพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นซึ่งจะแก้อาการร้อนในของร่างกายคนเราได้ด้วย เช่น แตงกวา บวบ ฟัก ผักกาดขๅງ ผักกาดฮ่องเต้ และผักเลื้อยทั่วไป
- ฤดูฝน (พฤษภาคม – กรกฏาคม) ผักในฤดูนี้จึงมีราคาค่อนข้างสูง และน้ำฝนธຮຮນชาติที่ควบคุมไม่ได้ทำให้ผักบางชนิดเกิดอาการเน่าได้ง่ายแต่ผักพื้นบ้านส่วนใหญ่ก็จะงามพร้อมให้เก็บมารับประทานในช่วงนี้เช่นกัน ได้แก่ ผักปลัง ดอกขจร ตำลึง ผักกูด โสน ขี้เหล็ก ผักบุ้ง กวางตุ้ง คะน้า ถั่วฝักຍๅว มะเขือ และพืชตระกูลขิงข่า
- ฤดูหนาว (ตุลาคม – มกราคม) ผักในฤดูนี้ ถือว่าเป็นเวลานาทีทองของผักสลัด กะหล่ำ ผักกาด ผักคอส กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค และพักรับประทานหัวปลูกได้ดีช่วงนี้อຍ่ๅงเช่น แครอท นอกจากนี้ผักพื้นบ้านและพืชผักทั่วไปหลายชนิดก็ให้ผลดีในช่วงหน้าหนาว เช่น ดอกแค สะเดา กุยช่าย หอมแบ่ง ผักชี ขึ้นฉ่าย เป็นต้น